เมนู

อย่างเดียว และเป็นธรรมมีเหตุ (สเหตุกะ) ในการเกิดพร้อมกัน 3 เหตุ
หรือ 2 เหตุ. ส่วนโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะเป็นเหตุแต่ไม่มี
เหตุประกอบ. แม้ในนิทเทสแห่งทุกะที่สัมปยุตด้วยเหตุก็นัยนี้แหละ.

ว่าด้วยนิทเทสสังขตทุกะ


ในนิทเทสสังขตทุกะ พระองค์ทรงทำนิทเทสไว้ด้วยอำนาจธรรมเป็น
เอกวจนะว่า โย เอว โส ธมฺโม (ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นใดเล่า) ดังนี้ ทรง
หมายเอาอสังขตธาตุตามที่ตรัสไว้ในทุกะแรก แต่ในทุกะแรกนี้ทรงทำเป็น
พหุวจนะไว้โดยนัยปุจฉานุสนธิว่า อิเม ธมฺมา อปฺปจฺจยา (ธรรมเหล่านี้
ไม่มีปัจจัย) ดังนี้ เพราะทรงยกขึ้นถามด้วยอำนาจแห่งบทพหุวจนะ. แม้ใน
บทมีอาทิว่า อิเม ธมฺมา สนิทสฺสนา (สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่
เห็นได้
) ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสวิญเญยยทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งเกนจิวิญเญยยทุกะ ต่อไป.
บทว่า จกฺขุวิญฺเญยฺยา (ธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้) ได้แก่ อันจักขุ
วิญญาณพึงรู้แจ้ง. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน อนึ่ง ในนิทเทสนี้ คำว่า
จิตบางดวงรู้ได้ คือในบรรดาจิตทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น จักขุวิญญาณ
หรือโสตวิญญาณดวงใดดวงหนึ่งพึงรู้ได้. คำว่า จิตบางดวงรู้ไม่ได้ คือ
จักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณไม่พึงรู้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่มีทุกะนี้ว่า
เย เต ธมฺมา จกฺขุวิญฺเญยฺยา น เต ธมฺมา โสตวิญฺเญยฺยา (ธรรม
เหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้) ดังนี้ เพราะ

ความที่ทุกะนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังว่า ย่อมเป็นหมวดทุกะได้เพราะความ
ต่างกันแห่งเนื้อความของบทแม้ทั้งสองดังนี้. แต่พึงถือเอาเนื้อความนี้ว่า รูปอัน
จักขุวิญญาณพึงรู้ได้ เสียงอันจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ แล้วพึงทราบทุกะหนึ่งนี้ว่า
ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณพึงรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณไม่พึงรู้ได้ ก็
หรือว่า ธรรมเหล่าใดที่โสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณไม่พึง
รู้ได้ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์ทรงจำแนกทุกะละ 4 หมวด มี
อินทรีย์ (มีจักขุนทรีย์เป็นต้น) ละหนึ่งเป็นมูล (มีอินทรีย์ที่เหลือเป็นมูลี
หมุนไป) อย่างนี้ จึงเป็น 20 หมวด ดังนี้.
ถามว่า ก็ธรรมที่มโนวิญญาณบางดวงพึงรู้ได้ บางดวงไม่พึงรู้ได้ ไม่
มีหรือ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงมิได้ตรัสเป็นทุกะไว้ในที่นี้.
ตอบว่า มิใช่ไม่มี แต่เพราะไม่มีการกำหนดจึงมิได้ตรัสไว้ เพราะว่า
การกำหนดว่า ธรรมที่จักขุวิญญาณไม่พึงรู้ได้เลยดังนี้ โดยประการใด แม้
มโนวิญญาณก็ไม่พึงรู้ได้ โดยประการนั้น มิได้มีอยู่ เพราะฉะนั้น เพราะไม่
มีโดยการกำหนด จึงไม่ตรัสทุกะในมโนวิญญาณนี้ไว้ในที่นี้ แต่เนื้อความนี้มีอยู่
ว่าธรรมที่มโนวิญญาณพึงรู้ได้มีอยู่ ที่ไม่พึงรู้ก็มี ดังนี้ เพราะฉะนั้น เนื้อความ
นั้นแม้มิได้ตรัสไว้ บัณฑิตก็พึงทราบด้วยสามารถตามที่หาได้.
จริงอยู่ ธรรมคือกามาวจรทั้งหลายนั่นแหละ อันกามาวจรธรรมทั้ง-
หลายอันถึงการนับว่า มโนวิญญาณ บางดวงพึงรู้ได้ บางดวงก็ไม่พึงรู้ได้ก่อน
แม้ธรรมมีรูปาวจรเป็นต้น อันกามาวจรเหล่านั้นนั่นแหละบางดวงพึงรู้ได้ บาง
ดวงรู้ไม่ได้ กามาวจรทั้งหลายแม้อันรูปาวจรเหล่านั้นบางดวงรู้ได้ บางดวงก็รู้
ไม่ได้. แม้รูปาวจรเป็นต้น อันรูปาวจรเหล่านั้นแหละบางดวงรู้ได้ บางดวง
รู้ไม่ได้.

แต่ว่า กามาวจรทั้งหลาย รูปาวจรทั้งหลาย และโลกุตรธรรมทั้งหลาย
อันอรูปาวจรทั้งหลายไม่พึงรู้ได้เลย ส่วนอรูปาวจรทั้งหลาย อันมโนวิญญาณ
บางดวงพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่านั้น อันมโนวิญ-
ญาณบางดวงเท่านั้นพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้. ธรรมทั้งหลายมีกามาวจรเป็น
ต้นไม่พึงรู้ได้ด้วยโลกุตรธรรมทั้งหลาย ก็โลกุตรธรรมทั้งหลายอันมโนวิญญาณ
บางดวงพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้ เพราะความที่โลกุตรธรรมเหล่านั้นอัน
พระนิพพานไม่พึงรู้ และโลกุตรธรรมเหล่านั้น พึงรู้ด้วยมโนวิญญาณบางดวง
ไม่พึงรู้ด้วยมโนวิญญาณบางดวง เพราะความที่มรรคและผลทั้งหลาย อันพระ-
นิพพานไม่พึงรู้ ดังนี้.

อาสวโคจฉกะ


[708] ธรรมเป็นอาสวะ เป็นไฉน ?
อาสวะ 4 คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏอาสวะ อวิชชาสวะ.
[709] บรรดาอาสวะ 4 นั้น กามาสวะ เป็นไฉน ?
ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลิดเพลิน
คือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความ
ใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อัน
ใด นี้เรียกว่า กามาสวะ.
[710] ภวาสวะ เป็นไฉน ?
ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ สิเน-
หาในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพ
ทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า ภวาสวะ.